“เพื่อน” สูตรสำเร็จของนักการตลาด Partner Relationship Management
ในขณะที่นักการตลาดรุ่นใหม่
กำลังสาระวนอยู่กับคิดหากลยุทธ์ที่เฉียบคมเพื่อก้าวสู่ความเป็นที่หนึ่งในตลาด
หลายคนอาจมองหาโปรโมชั่นโดนๆ บางคนเลือกใช้สื่อโฆษณา ที่หลากหลาย ทั้ง
ออนไลน์และออฟไลน์ การแย่งชิงพื้นที่จึงเกิดจากการต่อสู้
กับคู่แข่งโดยบางครั้งอาจลืมไปว่า
ปัจจัยหนึ่งที่สำคัญในการได้มาซึ่งความสำเร็จของนักการตลาดคือการมี
“เพื่อน” ที่ดี
ในยุคหนึ่งที่เรามักมองลูกค้าเป็นที่ตั้ง
เราจึงคุ้นชินกับคำว่า ลูกค้าสัมพันธ์ Customer Relationship
Management – CRM เพราะนั่นคือความเชื่อที่ว่าหากเราได้ใจลูกค้าเขาจะกลายเป็น
Brand Loyalty ในที่สุด การทำ Loyalty Program เพื่อครองใจลูกค้าจะมีให้เห็นในรูปแบบต่างๆ
ทั้งการยกระดับลูกค้าให้กลายเป็น V.I.P การสะสมแต้มแลกรับของ
การมอบสิทธิพิเศษที่มากกว่า แต่เราอาจลืมไปว่าในการดำเนินธุรกิจนั้น เรามีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีผลต่อการความสำเร็จ
มากกว่าแค่ลูกค้า
ดังนั้นการบริหารความสัมพันธ์จึงไม่ควรหยุดอยู่แค่เพียงลูกค้าเท่านั้น นั่นคือที่มาแนวคิดและกลยุทธ์ทางการตลาดที่เรียกว่าการบริหารความสัมพันธ์แบบบูรณาการ
Relationship Management – RM
ซึ่งวันนี้จะขอเริ่มด้วย
การบริหารความสัมพันธ์กับคู่ค้า Partner Relationship Management –
PRM
การบริหารความสัมพันธ์กับคู่ค้า
จัดว่าเป็นการพลิกแพลงแนวคิดและหลักเกณฑ์ของ CRM มาสู่มิติใหม่แห่งการจัดการความสัมพันธ์กับคู่ค้าและพันธมิตร
ตั้งแต่ ผู้จำหน่ายวัตถุดิบ ผู้รับจ้างผลิต
( Original Equipment Manufacturer
–OEM ) ตัวแทนจำหน่ายทั้งขายส่งและขายปลีก, ผู้รับจ้างขนส่ง
ไปจนถึงศูนย์ให้บริการต่างๆ เหล่านี้ต่างเป็นพันธมิตร
อย่าลืมว่าต่อให้คุณมีลูกค้า แต่คู่ค้าของคุณไม่ให้ความร่วมมือ
สุดท้ายความหยุดชะงักทางธุรกิจจะเกิดขึ้น การทำ PRM ที่ดี
จะช่วยให้สามารถลดต้นทุนทางการผลิต ประหยัดเวลา เพราะถ้าเรามี คู่ค้าที่ดีสิ่งที่ได้กลับมาคือ
คุณภาพ เพราะ “เพื่อนมักให้ที่ดีกับเพื่อนเสมอ”
ตัวอย่างง่ายๆ
เมื่อคุณอยากเปิดร้านกาแฟเล็กๆสักร้านหนึ่ง คุณจำเป็นต้องมีคู่ค้ามากมาย
เริ่มตั้งแต่ ผู้จำหน่ายเมล็ดกาแฟ, ร้านจำหน่ายแก้วและอุปกรณ์ต่างๆในการเปิดร้าน ,
ร้านจำหน่ายน้ำแข็ง,
และถ้าคุณอยากขายขนมที่ไม่ต้องการทำเองคุณก็จะมีคู่ค้าเป็นเจ้าของร้านขนมที่อาจจะมาฝากขาย
หรือขายขาด ซึ่งทั้งหมดจะดีไหมถ้า ร้านเมล็ดกาแฟเลือกของดีมาให้คุณ
ร้านน้ำแข็งมาส่งให้ที่ร้านทั้งๆที่คุณสั่งน้ำแข็งแค่ 20 บาท
และจะดีกว่าไหมถ้าเจ้าของขนมจะช่วยคุณด้วยการนำขนมมาฝากขายแทนที่จะขายขาดโดยคุณก็ไม่รู้ว่าจะขายได้หรือไม่
แต่นั่นหมายถึงคุณก็ควร จ่ายเงิน Supplier ครบ ตรงเวลา
และยืดหยุ่นต่อกันเพื่อความสัมพันธ์อันดีระยะยาวเป็นการแลกเปลี่ยน สรุปง่ายๆ PRM ก็คือ “น้ำพึ่งเรือ เสือพึ่งป่านั่นเอง”
No comments:
Post a Comment