Monday, March 14, 2016

“การตลาดคืออะไร รู้แล้วใช่ไหม”


ขึ้นหัวเรื่องมาแบบนี้ นักการตลาดหลายๆท่านคงถามว่า ใครบ้างจะได้รู้ แต่มีกี่คนที่รู้ว่าการตลาด จริงๆ คืออะไร เพราะตัวผมเองก็อยู่ในวงการการตลาดและการประชาสัมพันธ์มาหลายปี แต่พอเจอคนถามว่า "การตลาดคืออะไร" ก็เล่นเอาอึ้งไปเหมือนกัน เพราะเราเองก็ไม่เคยสนใจนิยามของคำว่า การตลาดว่าถ้าจะอธิบายให้คนอื่นเข้าใจจะต้องพูดว่าอย่างไร แต่พอนึกถึงอาจารย์ท่านหนึ่งที่เคยให้นิยามการตลาดไว้ในครั้งที่มีโอกาสไปอบรมสมัยที่ยังทำงานประจำอยู่ ( เสียดายจำชื่อท่านไม่ได้) ท่านกล่าวไว้ง่ายๆสั้นๆว่า ตลาดคือที่ที่ พ่อค้า แม่ค้า เจอกับลูกค้าเพื่อซื้อขายกัน !!! ” คือมันสั้น ง่ายขนาดนั้นเลยเหรอ
แต่ถ้ามองให้ลึกลงไป ประโยคสั้นๆนี้แหละ ที่ทำให้เกิดเรื่องราวในตลาดมากมาย สมัยก่อนถ้าเราพูดถึงตลาดเราจะนึกถึง พ่อค้า แม่ค้า ที่มาตั้งแผงขายผัก ผลไม้ อาหาร มารวมตัวกันวางขายจนเกิดเป็นตลาดขึ้นมาซึ่งก็จะมีทั่วไปในชุมชน
    
                                                                                                                        เครดิตภาพ : www.plearnwan.com

และถึงจะเป็นตลาดแบบบ้านๆ แต่ก็มีกลยุทธ์ทางการตลาดที่แยบยลเหมาะกับสภาพแวดล้อม  ไม่ว่าจะเป็น P.O.P ( Point of Purchase) ป้ายราคาสินค้าที่และโปรโมชั่น   และด้วยความที่เป็นตลาดในชุมชน ลูกค้าส่วนใหญ่จึงเป็นลูกค้าหน้าเดิมเสียส่วนใหญ่ ทำให้แม่ค้าจดจำลูกค้าได้เป็นอย่างดี เกิดการสร้าง CRM( Customer Relationship Management)  ไม่ว่าจะการเรียกชื่อลูกค้า พร้อมของแถมเล็กๆน้อยให้เกิดความประทับใจ  อ๊ะ อันนี้แถมให้เป็นการสร้างประสบการณ์ร่วม (CEM- Customer Experience Management )ได้เป็นอย่างดี



ต่อมาก็เริ่มมีห้างสรรพสินค้า ทั้งแบบ Local และห้างของนายทุน กรุงเทพขยายตัวไปตามต่างจังหวัด การตลาดก็เริ่มขยายตัว พร้อมกลยุทธ์ทางการตลาดที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น ทั้งการทำโฆษณาผ่าน Mass Media , Local Media , Printing , OHM ( Out Home Media) รวมถึง P.O.P รูปแบบต่างๆ

แต่ไม่ว่าจะเป็นตลาดแบบเดิมๆ หรือตลาดยุคใหม่ สิ่งหนึ่งที่เหมือนกัน นั่นคือ ที่ที่ผู้ขาย และผู้ซื้อมาเจอกัน และทำการซื้อขายกันนั่นเอง 

ผู้เขียน : เตอร์ก กิตติศักดิ์ 

Tuesday, December 22, 2015

นักการตลาดพร้อมหรือไม่กับสื่อนวัตกรรม ที่มาพร้อมสังคมดิจิทัล

นักการตลาดพร้อมหรือไม่กับสื่อนวัตกรรม ที่มาพร้อมสังคมดิจิทัล
จากที่เคยเขียนไปก่อนหน้านี้ถึงการที่โลกก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัล Digital Society ที่ทุกอย่างเกิดการเปลี่ยนแปลง ที่ปัจจัยหลักคือ การพัฒนาแบบก้าวกระโดดของเทคโนโลยี ไม่เว้นแต่ด้านการสื่อสาร  ใครจะคิดว่าวันหนึ่ง หนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือแม้แต่กระทั่ง วิทยุ และโทรทัศน์ ที่เราเคยฮือฮา เมื่อหลายสิบปีก่อนจะกลายเป็นของล้าสมัย เหตุเพราะเทคโนโลยีทำให้เกิด สื่อนวัตกรรมต่างๆมากมาย ที่ปรับเปลี่ยนตามกระแสสังคมที่เปลี่ยนแปลง และพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป
Innovative Media หรือสื่อ นวัตกรรม   คือ สื่อและช่องทางการสื่อสารต่างๆที่มีความแปลกใหม่ที่สามารถ  สร้างปรากฏการณ์ให้กับสังคม ทั้งในด้านวิธีการนำเสนอ เนื้อหา รวมถึงเครื่องมือที่ใช้ เพื่อการรับรู้ของผู้บริโภคต่อสินค้าและองค์กร    
                                                                                                   เครดิตภาพ : au bon pain
คำว่าสื่อนวัตกรรม อาจใช้ได้ในช่วงเวลาหนึ่ง แต่เมื่อเวลาผ่านไป  สื่อบางประเภทอาจกลายเป็น Traditional Media หากมีสื่ออื่นที่มาทดแทน  ที่มีความแปลกใหม่กว่าและสอดคล้องกับ Life Style ของผู้บริโภคที่ เปลี่ยนไปตามเวลา

                                                                                                                                                                         

 เครดิตภาพ : Nok Air 

สื่อ นวัตกรรม (Innovative Media ) ไม่จำกัดเฉพาะสื่อ ประเภทสื่อดิจิทัล ( Digital Media)  หรือสื่อออนไลน์ (Online Media) หรือMass Mediaเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึง สื่อประเภทออฟไลน์ (Offline  Media) สื่อกิจกรรม (Event Communications) สื่อกลางแจ้ง OHM ( Out Home Media ) โฆษณา ณ จุดขาย ( Point of Purchase - P.O.P )   
          
                                                                                    เครดิตภาพ : www.adweek.com 


                                                               เครดิตภาพ:  gertieisele.com  

แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นสื่อแบบเก่า หรือสื่อ นวัตกรรมที่เกิดขึ้นและพัฒนาไปแค่ไหนก็ตาม สิ่งที่สำคัญที่สุดที่นักการตลาดห้ามลืมเป็นอันขาด คือ  “ Content is King”  ยุคดิจิทัลเราไม่พูดแค่กับ  Local แต่เรากำลังคุยกับ Global จะคิด จะพูด หรือจะสื่อสารอะไรออกไปคิดดีๆ คิดแบบ 360 องศา อย่าลืมว่า คนรักก็มีมาก แต่คนเกลียดก็ใช่น้อย นักเลงคีย์บอร์ด ขยายพันธ์เร็วพอๆกับการขยายตัวของ Internet User และหลายๆแบรนด์ก็ประสบปัญหาแบบเดียวกัน...ว่าแต่นักการตลาดพร้อมใหมกับสื่อ นวัตกรรม ที่มาพร้อมกับ พฤติกรรมของ นักเลงคีย์บอร์ด


กิตติศักดิ์ อภิเนตรสุรทัณฑ์ : เขียน 

Friday, December 18, 2015

นักการตลาดพร้อมไหม ในยุคการสื่อสารไร้พรมแดน

นักการตลาดพร้อมไหม ในยุคการสื่อสารไร้พรมแดน
ในภาวะที่สังคมเปลี่ยนแปลงก้าวสู่ศตวรรษที่ 21 ประเทศกำลังก้าวเข้าสู่ในมิติใหม่ ความร่วมมือของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ASEAN Economic Community : AEC จะกระตุ้นและผลักดันให้ประเทศจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมเข้าสู่โลกธุรกิจที่เต็มไปด้วยการแข่งขัน สังคมโลกกำลังก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัล หรือที่เรียกว่ายุคแห่งข่าวสารและการรับรู้ ปัจจัยสำคัญของการก้าวข้ามจากยุคอนาล็อก กลายมาเป็นสังคมดิจิทัลคือ การพัฒนาอย่างต่อเนื่องตลอดเวลาของเทคโนโลยี โดยเฉพาะในด้านการสื่อสาร สื่อนวัตกรรมใหม่ๆมากมายที่เกิดขึ้น รวมถึงประสิทธิภาพในการเชื่อมต่อกันด้วยระบบอินเตอร์เน็ตไร้สายที่สามารถทำให้ประชากรจากทุกมุมโลกสามารถติดต่อสื่อสารถึงกันได้ง่ายขึ้น  เหล่านี้คือตัวแปรสำคัญ ในการผลักดันให้เกิดสังคมดิจิทัล 
เครดิตภาพ : http://www.mostresource.org/ 
การพัฒนาสังคมให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง จึงจำเป็นต้องอาศัยปัจจัยหลายด้านประกอบกัน ไม่ว่าจะเป็นด้านเทคโนโลยี (Technology) ด้านการสื่อสาร (Communications) ด้านการขนส่งและคมนาคม (Logistics and Transportation) และสำคัญที่สุดคือ ต้องพัฒนาคนที่มีความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง ให้สอดคล้องกับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป คนที่ย่ำอยู่กับที่คือการก้าวถอยหลัง และเปิดโอกาสให้คู่แข่งนำหน้า การรักษาคุณภาพอย่างเดียวจึงไม่เพียงพอสำหรับการก้าวสู่การเป็นผู้นำ หากยังต้องมีการพัฒนาศักยภาพในทุกด้านให้ดีขึ้นอย่างไม่หยุดนิ่ง และการที่จะพัฒนาให้องค์กรก้าวสู่ความเป็นผู้นำได้นั้นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญที่สุดนั่น คือ การพัฒนาคนหรือบุคลากรให้มีคุณภาพพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตลอดเวลา ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ( Digital Economy) ซึ่งเป็นนโยบายสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคม
          ในยุคสมัยที่มีการเปลี่ยนแปลงสู่ยุคดิจิทัล นักการตลาดจำเป็นต้องเรียนรู้และปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัย แนวคิด ทฤษฏี กลยุทธ์ ทางการตลาด รวมถึงรูปแบบและเครื่องมือการสื่อสารแบบเดิมอาจใช้ไม่ได้อีกต่อไป

                                                        เครดิตภาพ : http://www.paulhelmick.com

                จากกราฟจะเห็นได้ว่าอัตราการเติบโตของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตจากทั่วโลกสูงขึ้นทุกปี ในปี 2014 มีผู้ใช้
อินเตอร์เน็ตทั่วโลกเกือบ 3,000,000,000 คน  นี่คือสิ่งที่ยืนยันถึงสังคมก้าวเข้าสู่ส่งสังคมแห่งการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนข่าวสารอย่างแท้จริง

                       
เครดิตภาพ: http://my-thai.org/thailand-digital-social-mobile-early-2015/

การสื่อสารการตลาดดิจิทัล หรือที่หลายคนเรียกว่า อินเตอร์เน็ต มาร์เก็ตติ้ง ยังคงไว้ซึ่งวัตถุประสงค์หลักคือการสนับสนุนองค์กรในการสร้างรายได้ และโอกาสทางธุรกิจ โดยเฉพาะงานด้านส่งเสริมการขาย ทั้งการขยายฐานลูกค้า และรักษาลูกค้าเดิม รวมถึงงานด้านการสร้างภาพลักษณ์องค์กร เพียงแต่มีเครื่องมือที่แตกต่าง และหลากหมายมากขึ้น ไม่ใช่เพียงแค่ วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ดังจะเห็นได้จากสื่อนวัตกรรมต่างๆมากมายที่เกิดขึ้น อุปกรณ์การสื่อสารได้ถูกพัฒนาให้สามารถพกพาไปไหนก็ได้ อย่างสมาร์ทโฟน หรือ แท็ปเล็ต ที่สามารถเชื่อมต่อกับระบบอินเตอร์เน็ตไว้สายความเร็วสูง  ทำให้การส่งต่อ และการรับรู้ข่าวสารเป็นไปได้อย่างรวดเร็วและกว้างขวางมากยิ่งขึ้น

ว่าแต่ นักการตลาดพร้อมไหม ในยุคการสื่อสารไร้พรมแดน...ดิจิทัลเค้ามาจริงนะ ไม่ได้มาเล่นๆ ถึงเวลา Digital Marketing ต้อง Strong

กิตติศักดิ์ อภิเนตรสุรทัณฑ์
Thinking Third Co.,Ltd.


Sunday, July 19, 2015

“มหาชัย...มาหาใคร...เมืองใหม่ที่นักการตลาดต้องดู”

มหาชัย...มาหาใคร...เมืองใหม่ที่นักการตลาดต้องดู

สิ่งหนึ่งที่นักการตลาดในยุคก่อนหน้านี้ นิยมเทน้ำหนักให้ความสนใจสำหรับการ ทำการตลาด ก็คือการหาข้อมูลทั้งด้านภูมิศาสตร์ (Geographic) คือพื้นที่เป้าหมายที่เราต้องการทำการตลาด และข้อมูลด้านประชากรศาสตร์ (Demographic) อาทิ จำนวนประชากร อายุ เพศ วัย แต่ในยุคปัจจุบันสิ่งแรกที่เราต้องรู้คือ วันนี้โลกเรากำลังก้าวจาก Local สู่ Global ข้อมูลด้าน Geographic กำลังจะเปลี่ยนไป สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้เกี่ยวกับกลุ่มเป้าหมายคือการหา Insight ของที่แท้จริงของกลุ่มเป้าหมาย เมื่อคุณรู้ว่าลูกค้าคุณคือใคร จะทำให้เรารู้ว่า กลุ่มคนเหล่านั้นมีพฤติกรรมส่วนใหญ่อย่างไร (Behavior) ทัศนคติ (Attitude) ความเชื่อ ศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี รวมถึงภาษา ลืมไปแล้วสิว่าเรากำลังจะเข้าประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ASEAN Economic Community -AEC  
เครดิตภาพจาก : www.wisegeek.com

วันก่อนมีโอกาสต้องเดินทางไปทำงานและแวะทานข้าวที่ มหาชัย จังหวัดสมุทรสาคร เมืองริมทะเล ปากอ่าวไทยเล็กๆ ที่เป็นแหล่งอาหารทะเลสด พลันเหลือบตาไปมองเห็นกระจาดเครื่องปรุง มีน้ำปลา พริกป่น  น้ำตาล น้ำส้มสายชู ซึ่งเป็นเรื่องปกติของร้านอาหารตามสั่งทั่วไปในบ้านเรา แต่ที่แปลกกว่าปกตินั้นคือ มีกระปุกผงชูรส!!! (เอ่อ จะให้ต้ม ผัด แกง ทอด กันเองเลยรึ)จนมาสืบทราบภายหลังได้ความว่า มหาชัย ตอนนี้มีจำนวนประชากรคนงานชาวพม่าอยู่เป็นจำนวนมาก และชาวพม่านิยมรับประทานผงชูรส คู่กับอาหารเมนูต่าง ๆ  นอกจากนั้นสิ่งที่ทำให้ผมขอคารวะนักการตลาด  Local แห่งมหาชัยรวมถึง Global Brand บางเจ้าที่ปรับตัวเองให้สอดคล้องกับสถานการณ์ได้อย่างดี  เพราะ เครื่องดื่มชูกำลังใช้ป้ายผ้า Banner โฆษณาสินค้าเป็นภาษาพม่า เดินเข้าห้างสรรพสินค้ากดตู้ ATM ก็เจอเมนูภาษาพม่า, ผ่านร้านโทรศัพท์ เจอป้ายโฆษณา Sim card ภาษาพม่า   (เกิดคำถามในใจขึ้นมาว่านี่ผมยังอยู่ในเขตประเทศไทยอยู่ใช่หรือไม่)



ภาพจาก : migrantsinsiam.blogspot.com
ผมคิดว่านี่คือกลยุทธ์การสื่อสารที่ดี แยบยลและได้ผล  เพราะนักการตลาด ต้องรู้ว่ากำลังจะสื่อสารกับใคร จึงต้องใช้ข้อความหรือเนื้อหาอะไร( Content ) เพื่อดึงดูดความสนใจและตรงตามความต้องการของกลุ่มคนเหล่านั้น ที่สำคัญต้องให้เขาเข้าใจด้วย
การทำการตลาดกับภูมิประเทศที่แตกต่างกัน พื้นฐานการดำเนินชีวิตที่แตกต่างกันย่อมจะต้องทำความรู้จักลูกค้าแต่ละพื้นที่ให้ถ่องแท้ เพื่อที่จะสื่อสารให้ลูกค้าได้รับข้อความ ที่ตรงกับความต้องการ บางครั้งการสื่อสารจากเมืองหลวงที่ว่าแน่ อาจไม่ประสบความสำเร็จได้กับคนต่างจังหวัด โดยเฉพาะที่ มหาชัย
จะเห็นได้ว่าการสร้างการรับรู้ (Awareness) ในหลายๆพื้นที่ในต่างจังหวัดยังคงใช้วิธีการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ แบบดั้งเดิม รถแห่ (Moving Ads) ป้ายโฆษณาตามสี่แยก ( Cutout – Billboard), ป้ายผ้าแบนเนอร์ (Banner) เสียงตามสาย (Radio) มันไม่สำคัญหรอกว่าจะเรียกสื่อพวกนี้ว่าอย่างไร มันสำคัญตรงเนื้อหาและข้อความที่ต้องการส่งต่อให้กลุ่มเป้าหมายต่างหากและข้อความที่ดี( Content )  เริ่มจากการหาพฤติกรรมและเรียนรู้จาก Insight ที่แท้จริงของกลุ่มเป้าหมายคือหน้าที่ของนักการตลาด   
“อย่าลืมนะครับ จะทำการสื่อสารการตลาด ต้องทราบก่อนนะครับว่า เราจะคุยกับใคร
เพราะ...มหาชัย ไม่ใช่ Local อีกต่อไป" 

By : อภิลักษณ์ คาวีเสถียร 

Saturday, May 23, 2015

นักการตลาดตัวจริง จะทำให้ทุกที่เป็น...นครสวรรค์

“ นักการตลาดตัวจริง จะทำให้ทุกที่เป็น...นครสวรรค์  

          หลายครั้งที่นักการตลาดมักมองหาโอกาสทางธุรกิจ ในพื้นที่เมืองใหญ่ๆ  เพราะเข้าใจว่าจังหวัดยิ่งใหญ่ โอกาสในการหมุนเวียนทางธุรกิจยิ่งเยอะ  แต่หลายคนคงลืมไปว่า ไม่ว่าจะเป็นคนในเมืองเล็กเมืองใหญ่ ต่างต้องการได้รับ      โอกาส  ทั้งในเรื่องของสินค้าและบริการ ไม่ต่างกัน  หลายคนอาจมองต่างจังหวัด  ว่าเป็นพื้นที่ ที่ไม่น่าสนใจ  จะสนใจเฉพาะในเมืองหลวง และหัวเมืองใหญ่     เพราะด้วยจำนวน คน ความเจริญ หรือปัจจัยหลายๆอย่างแต่โอกาสทางธุรกิจสามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ขึ้นอยู่กับว่าใครจะมองเห็นค่ามันได้ก่อน
      ยกตัวอย่างง่ายๆ ถ้าพูดถึง นครสวรรค์ ผู้คนจะมองเป็นเพียงเส้นทางผ่าน ของนักเดินทางที่จะมุ่งหน้าสู่ภาคเหนือ สิ่งที่ทุกคนมองเหมือนกัน ตรงเป็นที่ “ นครสวรรค์ เป็นประตู สู่ภาคเหนือ ”   สินค้าที่ขึ้นชื่อ ก็คงจะหนีไม่พ้น ขนมโมจิ  ซึ่งในความจริงแล้ว นครสวรรค์ มีอะไรอีกเยอะมากที่หลายคน อาจจะยังไม่รู้ ทั้งสถานที่ท่องเที่ยว อาหารการกิน เทศกาลสำคัญๆ ที่เป็น culture ของจังหวัดนี้ ที่จัดขึ้นกันแบบสืบต่อกันมา เช่น เทศกาล ตรุษจีน




 ในทางด้าน community online ยังมี facebook ที่รวมกลุ่ม trade เอาไว้ ทำให้เห็นว่า มีผู้ลงทุน ทั้งในนครสวรรค์ และ จากที่อื่น พร้อมที่จะลงทุนในจังหวัดนี้ เนื่องด้วยพื้นที่ของจังหวัด เป็นจังหวัดที่เป็นเมืองผ่าน ร้านอาหาร ร้านขายของฝากอยู่สองข้างทาง  เพื่อที่จะให้คนที่ขับรถผ่าน ไม่ใช่แค่ขับรถผ่าน แต่นักลงทุน ต้องการที่จะให้นักท่องเที่ยว แวะพัก แวะจอดเที่ยว เพื่อให้เกิดการใช้จ่าย ให้เงินสะพัดเข้าสู่จังหวัด เพราะฉะนั้นธุรกิจส่วนใหญ่ ที่มีโอกาสที่จะเติบโตได้เร็วในจังหวัดนี้ จึงเป็นกลุ่มธุรกิจในเครือ ร้านอาหาร ร้านขายของฝาก เพราะเมืองนครสวรรค์  ถือเป็นเมืองที่ อุดมสมบูรณ์ทั้ง ทางเกษตรกรรม  การประมง โดยมีแม่น้ำสายหลัก คือแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งต้นกำเนิดอยู่ที่นี่  จึงทำให้แม่น้ำสายนี้  เป็นแม่น้ำสายสำคัญ ที่หล่อเลี้ยงชีวิต ของคนปากน้ำโพ  ดั่งคำขวัญ  เมืองสี่แคว แห่มังกร พักผ่อนบึงบอระเพ็ด ปลารสเด็ด ปากน้ำโพ ”
ซึ่งของขึ้นชื่อของจังหวัดนี้ ก็ไม่พ้นเรื่องอาหารการกิน ไม่ว่าจะเป็น ลูกชิ้นปลากรายแท้ ขนมโมจิ รวมไปถึง สถานที่ท่องเที่ยวที่จะทำให้ดึงดูดนักท่องเที่ยวได้ อีกทั้งในเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ในแต่ละปี ยังมีการแห่มังกร ขบวนเทศกาลตรุษจีน เป็นขวบานเจ้าพ่อ เจ้าแม่ ปากน้ำโพ ที่ยาวที่สุดในประเทศไทย ซึ่งวันนึงในช่วงเทศกาล เงินในจังหวัด สะพัดถึง100 ล้านบาท
 โรงแรมตามสบาย อีกหนึ่งตัวอย่างของนักลงทุนท้องถิ่นในนครสวรรค์  ที่มองเห็นโอกาส แบบมองขาด  ด้วยการตอบสนองความต้องการที่แท้จริงกับการนำเสนอ โรงแรม เพื่อนักเดินทาง ที่มองหาที่พักราคาประหยัด แต่ยังคงมีสไตล์ ที่ไม่ได้มาพักไปวันๆ ซึ่งออกแบบมาเพื่อตอบสนองผู้บริโภคที่มองหา ที่พักระหว่างทาง แบบ Boutique and Budget



               จากที่กล่าวมาจึงทำให้เห็นว่า  การลงทุน หรือ โอกาสทางธุรกิจนั้น ไม่ได้จำเป็นที่จะต้องอยู่ในเฉพาะเมืองหลวงเท่านั้น สามารถที่จะอยู่ได้ทุกที่ ขึ้นอยู่กับว่าใครสามารถที่จะมองเห็นโอกาสทางธุรกิจได้ก่อน ใครเห็นก่อน เจอก่อน ย่อมรวยก่อน และย่อมได้ชื่อเสียงได้การยอมรับที่นานกว่า ยิ่งทำให้ Brand แข็งแรง โอกาสก็ง่าย ที่ส่วนแบ่งทางการตลาดของคุณ จะมากที่สุด มันจึงทำให้เห็นว่า ไม่ใช่แค่ นครสวรรค์ แต่ในอีกหลายๆจังหวัดที่อยู่นอกสายตา  มันมีอะไรมากกว่าที่คุณคิด ถ้าคุณรู้ก่อน ย่อมรวยก่อน ด้วยเหตุนี้ กลุ่มนักธุรกิจ จึงมองเห็นว่า...
“ นักการตลาดตัวจริง จะทำให้ทุกที่เป็น...นครสวรรค์  


Monday, May 11, 2015

“เพื่อน” สูตรสำเร็จของนักการตลาด Partner Relationship Management

เพื่อน สูตรสำเร็จของนักการตลาด  Partner Relationship Management
ในขณะที่นักการตลาดรุ่นใหม่ กำลังสาระวนอยู่กับคิดหากลยุทธ์ที่เฉียบคมเพื่อก้าวสู่ความเป็นที่หนึ่งในตลาด หลายคนอาจมองหาโปรโมชั่นโดนๆ บางคนเลือกใช้สื่อโฆษณา ที่หลากหลาย ทั้ง ออนไลน์และออฟไลน์ การแย่งชิงพื้นที่จึงเกิดจากการต่อสู้ กับคู่แข่งโดยบางครั้งอาจลืมไปว่า ปัจจัยหนึ่งที่สำคัญในการได้มาซึ่งความสำเร็จของนักการตลาดคือการมีเพื่อน ที่ดี


ในยุคหนึ่งที่เรามักมองลูกค้าเป็นที่ตั้ง เราจึงคุ้นชินกับคำว่า ลูกค้าสัมพันธ์ Customer Relationship Management – CRM เพราะนั่นคือความเชื่อที่ว่าหากเราได้ใจลูกค้าเขาจะกลายเป็น Brand Loyalty ในที่สุด การทำ Loyalty Program เพื่อครองใจลูกค้าจะมีให้เห็นในรูปแบบต่างๆ ทั้งการยกระดับลูกค้าให้กลายเป็น V.I.P การสะสมแต้มแลกรับของ การมอบสิทธิพิเศษที่มากกว่า  แต่เราอาจลืมไปว่าในการดำเนินธุรกิจนั้น เรามีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีผลต่อการความสำเร็จ มากกว่าแค่ลูกค้า ดังนั้นการบริหารความสัมพันธ์จึงไม่ควรหยุดอยู่แค่เพียงลูกค้าเท่านั้น นั่นคือที่มาแนวคิดและกลยุทธ์ทางการตลาดที่เรียกว่าการบริหารความสัมพันธ์แบบบูรณาการ Relationship Management – RM
 ซึ่งวันนี้จะขอเริ่มด้วย การบริหารความสัมพันธ์กับคู่ค้า Partner Relationship Management – PRM
การบริหารความสัมพันธ์กับคู่ค้า จัดว่าเป็นการพลิกแพลงแนวคิดและหลักเกณฑ์ของ CRM  มาสู่มิติใหม่แห่งการจัดการความสัมพันธ์กับคู่ค้าและพันธมิตร  ตั้งแต่ ผู้จำหน่ายวัตถุดิบ ผู้รับจ้างผลิต ( Original  Equipment Manufacturer –OEM ) ตัวแทนจำหน่ายทั้งขายส่งและขายปลีก, ผู้รับจ้างขนส่ง   ไปจนถึงศูนย์ให้บริการต่างๆ เหล่านี้ต่างเป็นพันธมิตร อย่าลืมว่าต่อให้คุณมีลูกค้า แต่คู่ค้าของคุณไม่ให้ความร่วมมือ สุดท้ายความหยุดชะงักทางธุรกิจจะเกิดขึ้น การทำ PRM ที่ดี จะช่วยให้สามารถลดต้นทุนทางการผลิต ประหยัดเวลา เพราะถ้าเรามี คู่ค้าที่ดีสิ่งที่ได้กลับมาคือ คุณภาพ เพราะ เพื่อนมักให้ที่ดีกับเพื่อนเสมอ 



ตัวอย่างง่ายๆ เมื่อคุณอยากเปิดร้านกาแฟเล็กๆสักร้านหนึ่ง คุณจำเป็นต้องมีคู่ค้ามากมาย เริ่มตั้งแต่ ผู้จำหน่ายเมล็ดกาแฟ, ร้านจำหน่ายแก้วและอุปกรณ์ต่างๆในการเปิดร้าน , ร้านจำหน่ายน้ำแข็ง, และถ้าคุณอยากขายขนมที่ไม่ต้องการทำเองคุณก็จะมีคู่ค้าเป็นเจ้าของร้านขนมที่อาจจะมาฝากขาย หรือขายขาด ซึ่งทั้งหมดจะดีไหมถ้า ร้านเมล็ดกาแฟเลือกของดีมาให้คุณ ร้านน้ำแข็งมาส่งให้ที่ร้านทั้งๆที่คุณสั่งน้ำแข็งแค่ 20 บาท และจะดีกว่าไหมถ้าเจ้าของขนมจะช่วยคุณด้วยการนำขนมมาฝากขายแทนที่จะขายขาดโดยคุณก็ไม่รู้ว่าจะขายได้หรือไม่ แต่นั่นหมายถึงคุณก็ควร จ่ายเงิน Supplier ครบ ตรงเวลา และยืดหยุ่นต่อกันเพื่อความสัมพันธ์อันดีระยะยาวเป็นการแลกเปลี่ยน  สรุปง่ายๆ PRM ก็คือ น้ำพึ่งเรือ เสือพึ่งป่านั่นเอง” 



Saturday, March 28, 2015

Social Listening การวิจัยผู้บริโภคแบบ very insight ในยุคดิจิทัล


การทำการตลาดที่ได้ผลเริ่มจากการมีข้อมูลเชิงลึกของผู้บริโภคให้ได้มากที่สุดในทุกมิติ ทั้งความชอบ ความเชื่อ วิถีชีวิตรสนิยม  ไลฟ์สไตล์ รายได้ และอื่นๆอีกมากมาย ยิ่งนักการตลาดสามารถหาข้อมูลผู้บริโภคได้มากเท่าไหร่ก็ยิ่งเป็นผลดีสำหรับใช้ในการออกแบบ แผนการตลาดที่เหมาะสมและตรงใจผู้บริโภคสูงสุด



ที่มา : http://webaappsprogram.blog.com/

ที่ผ่านมาในยุค Analog การค้นหา Consumer Insights อาจมาจากการสัมภาษณ์ สังเกต การทำวิจัย ในแบบ Off line แต่วิธีการทำวิจัยพฤติกรรมผู้บริโภคที่มีประสิทธิภาพสูง สำหรับนักการตลาดยุคดิจิทัล คือการทำ Social Listening หรือการเฝ้าติดตามเสียงสะท้อนที่เกิดขึ้นในโลกโซเชียล ไม่ว่าจะเป็น Content ที่ ผู้บริโภคสนใจ ทัศนคติที่มีต่อสถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น ส่วนใหญ่การมีส่วนร่วมมักอยู่ภายใต้ความคิดเห็นส่วนตัว เพราะในโลกโซเชียล การ Like, Share, comment คือการแสดงตัวตนและ insights ของผู้บริโภคที่ชัดเจน โดยมีข้อสังเกตดังนี้
1.    เรื่องที่เป็นกระแสสังคมในโลกโซเชียล ไม่ได้แปลว่าทุกคนจะสนใจเพราะconsumer จะเลือกสนใจ และมีส่วนร่วมเฉพาะ content ที่ตนสนใจมากกว่าที่โลกสนใจ
2.  การแสดงทัศนคติ ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งของ consumer เป็นการแสดงออกถึงความคิด และความเชื่อเฉพาะบุคคล ที่สามารถบอกได้ถึง Insight ที่แท้จริง
3.   ผู้บริโภค อาจกด like และ comments ในกระทู้สุด Hot แต่จะเลือก Share ในเรื่องที่แสดงถึงตัวตนของตนเองที่มีความสอดคล้องกับ Content ที่ Share

เราสามารถทำ Social Listening ได้ทุกสื่อ ไม่ว่าจะเป็น Facebook , IG, Youtube , Web board, Twitters, Line, ซึ่งในแต่ละ Social Media ที่เราต้องการทำ Social Listening ก็จะมีวิธีการที่แตกต่างตามธรรมชาติของสื่อที่มีรูปแบบการนำเสนอที่ต่างกัน และสิ่งที่เราได้คือ Consumer Insights ที่สะท้อนออกมาของผู้บริโภคโดยที่ไม่ต้องกลัวว่าจะได้ข้อมูลที่ถูกปั้นแต่ง ถึงจะแต่งก็ไม่ทั้งหมดหรอกเชื่อสิ 

ลองถามตัวเองดูสิ ว่าเราชอบShare อะไรมากที่สุด นั่นแหละ คือตัวตนที่แท้จริงของคุณนั่นเอง