Friday, December 12, 2014

Creative Convergence Education คือกระบวนทัศน์ใหม่ของการศึกษา


Creative Convergence Education คือกระบวนทัศน์ใหม่ของการศึกษาอย่างสร้างสรรค์ของคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ที่มุ่งเน้นการพัฒนาบัณฑิตให้มี ศักยภาพตรงตามความต้องการของโลกธุรกิจ คือ ไม่เพียงมีความรู้ในวิชาชีพเชิงลึก แต่มีความเข้าใจองค์ประกอบแห่งความสำเร็จในเชิงกว้าง ด้วยแนวคิดการเรียนการสอนอย่างสร้างสรรค์ มุ่งเน้นการหลอมรวม ของนักศึกษาต่างศาสตร์ มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งกันและกัน ให้เห็นมุมมองความคิด รวมถึงเข้าใจในองค์ความรู้ที่แตกต่าง จากศาสตร์ต่างแขนง เพื่อให้เกิดผลผลิตเป็น คนคุณภาพแห่งศตวรรษที่ 21 – Global Generation” อย่างแท้จริง ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน (University - Industry Collaboration) เพื่อกำหมดปลายทางของกระบวนทัศน์ได้อย่างตรงจุดและชัดเจนเป็นรูปธรรม






โดยองค์ประกอบสำคัญและหัวใจหลักของการบูรณาการ ดังนี้  
Creative Learning การเรียนอย่างสร้างสรรค์ ต้องยอมรับว่าภายใต้ความหมายของคำว่าพัฒนามีคำว่า การเปลี่ยนแปลงเป็นของคู่กัน หากเราต้องการพัฒนานักศึกษาให้ก้าวสู่การเป็นบัณฑิตที่มีศักยภาพตรงตามความต้องการของโลกธุรกิจในศตวรรษที่ 21 เราจำเป็นต้องเริ่มต้นจากการพัฒนาและ สร้างสรรค์การเรียนการสอน ให้สอดคล้องกับความต้องการในตลาดแรงงานในปัจจุบัน คือนอกจากมุ่งเน้น ความถนัดในสาขาวิชาชีพเฉพาะด้านแล้ว จำเป็นต้องเปิดโอกาสทางการเรียนรู้ที่ช่วยเพิ่มทักษะความรู้ในเชิงสังคม การเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้คิด มากกว่าการท่องจำทฤษฏี เรียนรู้จากประสบการณ์จริง และร่วมสร้างสรรค์เนื้อหาในการเรียนรู้ร่วมกัน จะทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ๆ อีกด้วย 
รูปที่ 1 : Creative Learning Spiral 
ที่มา http://creamlearning.blogspot.com/2012/12/cream-learning-strategy.html





Creative Teaching  การสอนอย่างสร้างสรรค์ การที่จะพัฒนานักศึกษาให้มีความคิดสร้างสรรค์และมีศักยภาพได้นั้น อาจารย์ผู้สอน รวมไปถึงรูปแบบวิธีการสอน เป็นตัวแปรสำคัญอย่างยิ่งในการที่จะช่วยเปิดโอกาสการเรียนรู้ของนักศึกษาให้พัฒนามากยิ่งขึ้น ดังนั้นอาจารย์ผู้สอนเองจำเป็นที่ต้องพัฒนาตนเองให้ตรงกับแนวคิด Creative Convergence คือการพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอนแบบใหม่ ที่มุ่งเน้นการให้คำปรึกษา ผ่านการสื่อสารกับนักศึกษาแบบสองทาง Two way Communications  มากกว่าการให้แต่ความรู้ ผ่านรูปแบบสื่อสารทางเดียว One Way Communication การศึกษาพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายการเข้าใจในพฤติกรรมของนักศึกษาที่มีความแตกต่างเฉพาะตัวทั้งในด้านความรู้ ความคิด ทัศนคติ  มีผลอย่างยิ่งต่อการปรับเปลี่ยนวิธีการสอนให้มีประสิทธิภาพสูงสุด 




รูปที่ 2 : TEACHING PHILOSOPHY






ca Perren  | UNIVERSITY OF CENTRAL FLORIDA http://www.rebecaperren.com/teaching.html
Creative Environment (Creative Space)  บรรยากาศการเรียนการสอนอย่างสร้างสรรค์ ปัจจุบันจะเห็นได้ว่าหลายๆองค์กรธุรกิจโดยเฉพาะองค์กรใหญ่ๆที่ประสบความสำเร็จและเป็นผู้นำในตลาด ให้ความสำคัญเรื่องบรรยากาศในการทำงานเป็นอย่างมาก มีการออกแบบสถานที่ทำงานให้อำนวยความสะดวกให้กับพนักงานเพื่อให้เกิดความสุขในการทำงาน มีการแบ่งพื้นที่สำหรับสันทนาการ มากกว่า ที่จะมีเพียงพื้นที่ในการทำงานเพียงอย่างเดียว  ดังนั้นการสร้างสรรค์สภาพแวดล้อมและบรรยากาศในการเรียนการสอนที่ดี จึงมีผลต่อการพัฒนาศักยภาพของทั้งผู้เรียน และผู้สอน เช่นกัน สถานที่เรียนที่เหมาะสมต่อการเรียนที่แตกต่างทั้งในเรื่องขนาดที่เหมาะสมต่อจำนวนผู้เรียน รูปแบบห้องเรียนที่ปรับเปลี่ยนตามวัตถุประสงค์ในการเรียนแต่ละครั้ง รวมถึงบรรยากาศที่ดีในห้องเรียน  เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักศึกษา ที่จะเปิดโอกาสให้คามคิดสร้างสรรค์และจินตนาการได้แสดงออกอย่างเต็มที่
Opportunity for Creativities โอกาสแห่งการสร้างสรรค์ การเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้มี พื้นที่แสดงผลงานที่สร้างสรรค์ อันเกิดจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ รวมถึงมีพื้นที่ที่เขาสามารถแสดงออกซึ่งความคิดสร้างสรรค์ การเปิดโอกาสให้ได้ลงมือทำ ได้ลองผิด ลองถูก จากการปฏิบัติจริง จะเป็นอีกปัจจัยที่จะทำให้นักศึกษาได้มีแรงผลักดันที่จะพัฒนาตนเองให้มีศักยภาพที่ดียิ่งขึ้นต่อไป เพราะการได้เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้แสดงออกถึงความคิดที่เป็นแนวทางเฉพาะตัวจะทำให้เราสามารถมองเห็นวิธีคิดและทัศนคติรวมถึงศักยภาพที่ซ่อนอยู่ รวมถึงสามารถมองเห็นจุดอ่อนซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการที่จะหาทางในการพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาให้พัฒนาขึ้นไปเสริมจุดแข็งที่มีอยู่ และช่วยปิดจุดอ่อน พร้อมเปลี่ยนและพัฒนาให้ดีขึ้น
Collaboration  ความร่วมมือ   - การที่จะพัฒนาบัณฑิตให้มีศักยภาพตรงความต้องการของตลาดนั้น จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายภาคส่วนโดยเฉพาะผู้ประกอบการ (University Industry Collaboration)  ซึ่งเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์สูงสุดจากผลผลิตภายใต้แนวคิด Creative Convergence เพราะแท้จริงการพัฒนา คนคุณภาพแห่งศตวรรษที่ 21”  ก็ทำเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ประกอบการเป็นสำคัญ เพราะความจริงแล้วภารกิจหลักของมหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาก็คือการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพตรงตามความต้องการของตลาดแรงงานตามบริบทที่เปลี่ยนไป

รูปที่ 3 : Collaboration Life-cycle
ที่มา : http://www.aiim.org/What-is-Collaboration
นายจิรัฏฐ์ พรพนิตพันธุ์ บรรณาธิการบริหารนิตยสาร Cheeze , Looker และ Snack  ผู้ให้การสนับสนุนการจัดตั้งโครงการ BU Startup Project 2 กล่าวว่า ชอบวิธีคิดของ มหาวิทยาลัยกรุงเทพและชอบวิธีคิดแบบ Creative Convergence ของโครงการนี้มากๆ  คือมันตรงกับ องค์กรของเรา เราเป็นหน่วยหนึ่งของธุรกิจ และคนที่มีวิธีคิดแบบนี้นี่แหละที่เราต้องการ เราอยากได้คนที่มีวิธีคิดที่ทันสมัยและเข้าใจโลก และเราจะนำคนจากโครงการนี้ไปทำงานกับองค์กรของเรา

 
BU Startup Project
ภาพ นายจิรัฏฐ์ พรพนิตพันธุ์กับโครงการ BU Startup Project Season 2


rren  | UNIVERSITY OF CENTRAL FLORIDA http://www.rebecaperren.com/teaching.html

การมีส่วนร่วมขององค์กรภายนอกทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ และเอกชนรวมถึงภาคประชาชน ในการให้การสนับสนุน ไม่ว่าจะเป็นด้าน การถ่ายทอด ข้อมูล องค์ความรู้และประสบการณ์ งบประมาณ รวมไปถึง โอกาสในการทำงาน คือปัจจัยสำคัญที่มีส่วนช่วยให้เป็นแรงผลักดันในการพัฒนา บัณฑิต ที่มีความสามารถ รอบด้าน ให้เกิดขึ้นจริง ความร่วมมือ ที่จะก่อประโยชน์สูงสุด จึงมิได้เป็นเพียงการร่วมมือแบบครั้งคราวแต่ต้องเป็นความร่วมมือแบบ ระยะยาว และยั่งยืน เพื่อร่วมกันพัฒนาคุณภาพคน และสังคมคุณภาพอย่างยั่งยืน



อ่านต่อ ไปที่....

No comments:

Post a Comment